เริมเกิดจากการติดเชื้อ Herpes Virus Type 1 หรือ Herpes Virus Type 2 ที่ผิวหนัง ซึ่งพบได้บ่อย ทำให้เกิดตุ่มน้ำขึ้นที่ผิวหนัง โดยหลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสจะหลบซ่อนอยู่บริเวณเส้นประสาทที่รับความรู้สึกบริเวณผิวหนังและมีโอกาสก่อโรคได้อีกในอนาคต
ชนิดของเริม
- Herpes Virus Type 1 มักจะก่อโรคผิวหนังบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น บริเวณริมฝีปาก
- Herpes Virus Type 2 มักจะก่อโรคผิวหนังบริเวณส่วนล่างของร่างกาย เช่น บริเวณอวัยวะเพศและก้น
อาการของเริม
มีตุ่มน้ำใสเกิดขึ้นบริเวณที่ติดเชื้อ หลังจากนั้นตุ่มจะแตกออกแล้วเกิดเป็นแผล มักมีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย
เริมติดต่อได้อย่างไร
- ติดต่อโดยการสัมผัสบริเวณผิวที่เป็นโรคในผู้ที่ติดเชื้อ
- อาจติดได้จากการสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย
ปัจจัยกระตุ้นเริม
เมื่อภูมิต้านทานต่อไวรัสลดลงจะทำให้เริมกำเริบได้ โดยอาจมีปัจจัยกระตุ้นร่วมด้วย เช่น
- มีบาดแผลบริเวณผิวหนัง
- มีการผ่าตัด
- ทำเลเซอร์บริเวณนั้น
- การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
- การโดนแสงแดดเป็นเวลานาน
- การมีรอบเดือน
- ความเครียด
- การพักผ่อนน้อย
การรักษาโรคเริม
- การได้รับยาต้านไวรัส (Valacyclovia, Acyclovia) จะลดอาการที่เป็นและทำให้เริมหายเร็วขึ้นได้ จะได้ผลดีหากเริ่มใช้ยาภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีอาการ
- ทาครีมหรือขี้ผิ้งบริเวณที่เป็นเริม
- กินยาแก้ปวดในกรณีที่มีอาการปวดร่วมด้วย
โรคเริมไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการกินยาต้านไวรัสร่วมกับการดูแลตัวเอง ผู้ที่มีประวัติการเป็นซ้ำ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสเพื่อลดความถี่ของการเกิดโรค
เป็นเริมบ่อยต้องทำยังไง
สามารถป้องกันการเกิดเริมได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นให้เกิดเริม และในผู้ที่มีประวัติเป็นเริมมากกว่า 6 ครั้งต่อปี สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อกินยา (Prophylaxis) ป้องกันได้