แชร์
หูดข้าวสุก คือการติดเชื้อทางผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสมอลลัสคุม คอนทาจิโอซุม (Molluscum contagiosum) ทำให้เกิดตุ่มนูนผิดปกติขึ้น พบได้บ่อยในเด็กอายุระหว่าง 1-10 ปี
สาเหตุของการเกิดหูดข้าวสุก
- ติดต่อได้โดยตรงจากการสัมผัส
- ติดจากการใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น เสื้อผ้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกันกับผู้ที่เป็นหูดข้าวสุก
- ติดจากการแกะ เกาผื่นจนเป็นทำให้ไปติดบริเวณอื่น
- ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ในผู้ใหญ่
- เมื่ออยู่ในภาวะที่ผิวเปียกหรือแช่น้ำเป็นเวลานานจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เช่น เด็กเล็กที่อาบน้ำหรือว่ายน้ำด้วยกัน
อาการของหูดข้าวสุก
- มีลักษณะเป็นตุ่มสีขาว มีขนาดเล็ก รวมตัวกันเป็นกลุ่ม
- ผิวหูดเป็นมันวาว
- อาจมีลักษณะบุ๋มตรงกลางตุ่ม
- มักจะเจอหูดข้าวสุกได้บ่อยตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่อับชื้น เช่น รักแร้ และขาหนีบ
การรักษาหูดข้าวสุก
- การจี้ทำลายหูดด้วยความเย็น (Cryotherapy)
- การขูดเพื่อเอาหูดข้าวสุกออก (Curettage)
- การใช้ยาทาที่มีฤทธิ์เป็นกรด
ถ้าผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันปกติเป็นหูดข้าวสุก หูดมักจะหายไปเองภายในระยะเวลาไม่กี่เดือนโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่การติดเชื้ออาจยังคงอยู่ต่อไปอีกหลายเดือนและอาจถึงปีหากมีหูดเกิดขึ้นใหม่ ส่วนในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ มีความเป็นไปได้ที่หูดจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นและระยะเวลาในการติดเชื้อจะนานขึ้น