แชร์
โรคขอบเล็บอักเสบ เกิดจากการที่เนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณโคนเล็บติดเชื้อ เกิดได้ทั้งที่นิ้วมือและนิ้วเท้า
โรคขอบเล็บอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- โรคขอบเล็บอักเสบเฉียบพลัน (Acute Paronychia) อาการของโรคจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วโมงหรือภายใน 2-3 วัน การติดเชื้อจะเกิดแค่บริเวณขอบเล็บ แต่ไม่ขยายลึกลงไปด้านในนิ้วมือหรือนิ้วเท้า อาการอักเสบจะเกิดไม่เกิน 6 สัปดาห์
- โรคขอบเล็บอักเสบเรื้อรัง (Chronic Paronychia) คือขอบเล็บอักเสบที่จะค่อย ๆ แสดงอาการออกมา และเกิดการอักเสบมามากกว่า 6 สัปดาห์ อาจเกิดพร้อมกันหลายเล็บได้
อาการของโรคขอบเล็บอักเสบ
- มีอาการปวด บวม บริเวณขอบเล็บ
- ผิวรอบขอบเล็บจะอักเสบจนเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อจับจะรู้สึกร้อน
- มีหนองไหลออกมาจากบริเวณที่มีการอักเสบ อาจเป็นหนองสีขาวหรือสีเหลือง หากเป็นหนอง แพทย์จะพิจารณาใช้ยาปฏิชีวนะหรือเจาะระบายหนองเพื่อการรักษา
สาเหตุที่ทำให้เกิดขอบเล็บอักเสบมีอะไรบ้าง
- เกิดแผลที่เล็บ เช่น เล็บถูกกระแทกหรือถูกของหนักหล่นใส่
- เกิดจากการตกแต่งเล็บ เช่น ตัดเล็บผิดวิธี ทำเล็บหรือต่อเล็บปลอม
- เกิดจากการที่มือเท้าเปียกชื้นเป็นประจำ
- เล็บมือพิการแต่กำเนิด
- เกิดจากการกัดเล็บหรือแทะเล็บเป็นประจำ
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดขอบเล็บอักเสบ
- ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื้นหลังล้างมือเสมอ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ทำให้ระคายเคือง เช่น ผงซักฟอกและสบู่
- รักษามือและเท้าให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ควรให้เปียกชื้นเป็นเวลานาน
- หลีกเลี่ยงการทำให้เล็บเกิดบาดแผล ไม่ควรแคะเล็บหรือกัดเล็บ
- ไม่ควรตกแต่งเล็บด้วยการขูดเนื้อเยื่อรอบเล็บออกบ่อย ๆ
- ดูแลเล็บมือและเท้าให้สะอาด ไม่อับชื้น
วิธีรักษาขอบเล็บอักเสบ
- การใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้ได้ทั้งชนิดทาและชนิดรับประทาน
- การผ่าตัด มักจะใช้วิธีการผ่าตัดเมื่อมีภาวะขอบเล็บอักเสบเป็นหนอง หรือมีภาวะเล็บขบร่วมด้วย